Media Centre

พลังของคนยุคมิลเลนเนียล

ตีพิมพ์ในเว็บไซต์:

30 Jun 2019

| วันที่ 5 มิถุนายน 2562 |

กลุ่มคนที่เกิดในปี 2522-2543 หรือที่เรียกว่าคนยุคมิลเลนเนียล กำลังเข้ามาเปลี่ยนนิยามของความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต และการทำงานของผู้คนอย่างรวดเร็ว ความคิดเรื่องเศรษฐกิจแบบแบ่งปันได้กลายมาเป็นวิถีในการเดินทาง (Uber และ Grab) และการพักอาศัย (Airbnb) ของเราแล้ว

ในที่ทำงานก็เช่นกัน ชาวมิลเลนเนียลเข้ามามีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อการทำงานทั่วโลก และจะเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 75

การรับรู้ที่มีต่อกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียม

แนวทางและนิสัยการทำงานของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลเป็นที่สิ่งที่พูดถึงและถกเถียงกันมานานแล้ว และมักจะมีการเข้าใจผิดในเรื่องของรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน คนยุคก่อนหน้านี้เองก็ตีตราว่ากลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลดูไม่มีหลักแหล่งในเรื่องการทำงานและไม่น่าเชื่อถือ

สถานที่ทำงานในหลายๆ แห่ง มีวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นแบบแผนและไม่ยืดหยุ่น ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ชัดเจน แผนผังที่นั่งทำงานที่ถูกจัดสรรมาแล้ว และเวลาพักเที่ยงที่กำหนดไว้ตายตัว

จากผลการศึกษาของกลุ่มอัจฉริยะ กลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลต้องการเป็นนายของตัวเอง อยากมีสไตล์การทำงานที่ยืดหยุ่น และให้ความสำคัญกับชีวิตส่วนตัวและการทำงานที่สัมพันธ์ไปด้วยกัน ความสำเร็จของพวกเขามาจากการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนทางธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน และการเชื่อมต่อกับคนที่มีความคิดคล้ายๆ กัน ทำให้การร่วมมือกันนั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น

พื้นที่ทำงานแบบเดิมไม่เอื้อต่อการทำงานที่ยืดหยุ่นอีกต่อไป และในความเป็นจริงพื้นที่ทำงานบางแห่งถูกออกแบบมาให้การปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นอย่างจำกัดหรือน้อยที่สุดในพื้นที่ใช้สอยร่วมกันหรือส่วนเตรียมอาหาร เพื่อ “เสริม” ให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในชั่วโมงการทำงาน

สำหรับผู้จ้างงานแล้ว สภาพแวดล้อมในที่ทำงานสามารถสร้างความแตกต่างได้เมื่อต้องการรักษาพนักงานหรือขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในองค์กร ด้วยการออกแบบพื้นที่ทำงานที่สามารถสร้างวัฒนธรรมให้กับองค์กรนั้นๆ

ความต้องการในตลาด CO WORKING SPACE มีเพิ่มสูงขึ้น

ความต้องการในตลาดโคเวิร์กกิ้งนั้นยังคงเติบโตและมีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกอบการธุรกิจ Co working space เช่นจัสโคเสนอทางเลือกการออกแบบพื้นที่ทำงานที่เหมาะสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานอิสระ หรือพนักงานองค์กรอย่างบริษัท Wilson Associates, FAVE และ Dropbox ที่ต้องการพื้นที่ทำงานสำหรับพนักงานมากถึง 200 คน

ในปีที่ผ่านมา เราเห็นความต้องการของตลาดองค์กรในการมองหาพื้นที่ออฟฟิศเสริมนอกสถานที่หรือพื้นที่เพื่อรองรับแผนกใดแผนกหนึ่งโดยเฉพาะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 คาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าสัดส่วนของลูกค้าองค์กรในพื้นที่โคเวิร์กกิ้งจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70-80 อันเป็นผลมาจากความต้องการใช้พื้นที่ทำงานที่ให้บริการแบบครบวงจร รวมไปถึงโปรแกรมต่างๆ สำหรับคอมมิวนิตี้

ประมาณร้อยละ 40 ของสมาชิกที่มีอยู่ของจัสโค ทั้งที่ทำงานส่วนตัวและเป็นลูกจ้างบริษัทล้วนเป็นกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียล ซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในพื้นที่ทำงานของเรา ทั้งนี้เมื่อพนักงานเหล่านั้นเริ่มมานั่งในตำแหน่งผู้บริหารขององค์กร ก็ได้นำวัฒนธรรมของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไปมาปรับใช้กับการทำงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้น ผลการวิจัยของ CBRE แสดงให้เห็นว่าความกังวลห้าอันดับแรกของคนกลุ่มมิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกคือการให้ความสำคัญกับเวลาในการเดินทางมาทำงาน และทำเลที่ดีของออฟฟิศ ในขณะที่ร้อยละ 71 ยอมแลกสวัสดิการบางอย่างกับการมีออฟฟิศที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี

ยกตัวอย่าง บริษัท Wilson Associates ซึ่งเป็นบริษัทรับออกแบบภายในให้โครงการระดับหรูหรา และมีพนักงานประจำประมาณ 100 คน บริษัทนี้ในสิงคโปร์ย้ายจากอาคารใน Tampines มาอยู่บนพื้นที่ทำงานขนาด 10,000 ตารางฟุตกับสาขาที่เป็นแฟรคชิปของจัสโคที่อาคาร Marina Square ในเดือนพฤศจิกายน 2561

การย้ายออฟฟิศเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเติบโตขององค์กร และความต้องการพื้นที่ทำงานที่ยืดหยุ่นและออกแบบมาเฉพาะให้เข้ากับความต้องการขององค์กรและพนักงาน พื้นที่ใหม่ช่วยให้ทีมเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและโปรแกรมต่างๆ สำหรับคอมมิวนิตี้ เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นๆ และให้ความสำคัญสูงสุดกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ความคุ้มค่าด้านราคา

โดยเฉลี่ยแล้ว Co working space จะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้องค์กรได้ถึง 25%-45% ซึ่งทำให้องค์กรสามารถผันงบประมาณส่วนนี้ไปใช้ในกิจกรรมเพื่อพนักงานอย่างคลาสหรือเวิร์คช้อปเพื่อสุขภาพ

ผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งยังสามารถช่วยลดความจำเป็นในการเสาะหาหรือต่อรองราคากับผู้ให้เช่าอาคาร และยังช่วยดูแลงานส่วนบริหารจัดการอื่นๆ เช่น การทำความสะอาด บริการซ่อมบำรุง และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกอย่าง

ไอที ส่วนรักษาความปลอดภัย และบริการต้อนรับส่วนหน้า ช่วยให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นไปที่การทำธุรกิจของตนได้อย่างเต็มที่

นอกเหนือไปจากทางเลือกในด้านความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการเช่าพื้นที่ระยะยาวหรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์เองแล้ว โคเวิร์กกิ้งยังช่วยเสนอหนทางที่รวดเร็วในการมีออฟฟิศที่ออกแบบตกแต่งเสร็จสรรพ โดยเฉพาะในตลาดที่การขออนุญาตก่อสร้างและกระบวนการทางนิติกรรมต้องใช้เวลานานหลายเดือน

วัฒนธรรมของโคเวิร์กกิ้งนำไปสู่การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจกัน

Co working ฝ่ากฎของการทำงานแบบฉายเดี่ยวในแต่ละวัน โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้สับเปลี่ยนจากการทำงานมาเชื่อมต่อและทำงานอดิเรกได้ภายในพื้นที่เดียวกัน มีทั้งห้องคุยโทรศัพท์แบบส่วนตัว โต๊ะปิงปอง และร้านกาแฟ โดยออกแบบมาเพื่อสนองความต้องการของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปและความชอบส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน

การเป็นส่วนหนึ่งของคอมมิวนิตี้มอบโอกาสมากมายในการติดต่อสัมพันธ์กับคนในหลากหลายสาขา เผยความร่วมมือทางธุรกิจ แบ่งปันความรู้ และขยายวงของคนในสาขาอาชีพเดียวกัน

พื้นที่ทำงานของจัสโคได้รับการออกแบบมาให้ตอบรับกับวัฒนธรรมการติดต่อสัมพันธ์ ทุกสาขาของจัสโคจึงมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับการพบปะติดต่อกันมากกว่า 30%

แนวโน้มทั่วโลกแสดงให้เห็นแล้วว่ามีผู้ที่เชื่อมั่นในคอมมิวนิตี้การทำงานที่มีการเชื่อมต่อกันมากมาย เพื่อช่วยให้สมาชิกได้ติดต่อกันนั้น ผู้จัดการคอมมิวนิตี้ของจัสโคจะออกแบบโปรแกรมกว่า 700 ชั่วโมงต่อปีเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือได้ถกเถียงกันถึงเทรนด์ล่าสุดผ่านงานพูดคุยและสัมมนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ bitcoin chatbots หรือเทคนิคความสำเร็จในการเปิดตัวสตาร์ทอัพ นอกจากนี้ยังมีคลินิกให้คำปรึกษาทางธุรกิจแบบรายตัว จัดโดยสมาชิกหรือพันธมิตรของเรา อย่าง Dropbox ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับสมาชิกในการให้บริการปรึกษาเพื่อสนองความต้องการด้านธุรกิจต่างๆ

ปัจจุบัน จัสโคมี Co working space สำหรับการทำงานกว่า 30 สาขาใน 8 เมืองหลักของเอเชีย และมีแผนขยายสาขาในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กว่า 1.5 ล้านตารางฟุตภายในระยะเวลาหนึ่งปี โคเวิร์กกิ้งจึงไม่ใช่เทรนด์อีกต่อไป แต่เป็นพลังแห่งการขับเคลื่อนไปสู่อนาคตของการทำงานที่สร้างและผลักดันโดยคนยุคมิลเลนเนียลเพื่อส่งต่อถึงคนในยุคอนาคต